ตอนที่ ๘๗ เรื่อง การบันทึกเสียงร้องเพลงเล่นดนตรี (ตอน ๑๑) เรียน เพื่อน พี่ น้องสมาชิกที่เคารพรักทุกท่าน สวัสดีและขออ้างอิงคุณพระศรีรัตนตรัยจงดลบันดาลให้ทุกท่านมีแต่โชคดี ปีใหม่ ปีกุน-หมูทอง พุทธศักราช 2562กันทุกผู้ทุกคนครับ โดยเฉพาะพ่อแม่เพื่อนพี่น้องทางจังหวัดภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ “ปาบึก”ก็ขอมีความปลอดภัยกันเช่นเดียวกัน
มาติดตามความรู้ความเข้าใจและความเพลิดเพลินจากอุปกรณ์โปรแกรมเครื่องเสียงดนตรีที่เรามีอยู่กันต่อดีกว่าครับ
สิ่งที่เรามีเริ่มจาก
1.คอมพิวเตอร์และโปรแกรมeXtreme Karaoke Ver.3ลิขสิทธิ์ +ไฟล์เพลงมิดี้EXK/XMK + Sound font
2.Digital Mixer พร้อม Driver สายสัญญาณ USB/XLR/Trs และไมโครโฟนสำหรับร้องเพลง
3.เครื่องปรุงแต่งเสียง ได้แก่ Effect/E.Q./Crossover/compressor.
4.Power Amplifier + ลำโพง Monitor
และที่สำคัญต่อไปนี้อีก 2 อย่าง คือ
1.โปรแกรม DAW เช่น Cubase/ Logic/ Pro Tools/ Ableton/ Sonar/ Reaper/ Studio One เป็นต้น
และ 2. อุปกรณ์ DAW Controller เช่น
Presonus FaderPort Classic/8/16
Behringer X touch
เป็นต้น
ในบทนี้ ผมขอยกตัวอย่าง อุปกรณ์เครื่องเสียง ตัวควบคุม และโปรแกรมบันทึกเสียงที่จะนำมาประกอบการทำงาน ได้แก่ Digital Mixer /DAW/และDAW Controller ดังนี้
1. มิกซ์ Presonus AB1818vsl + ปรีไมค์ Behringer ADA8200 + Sound Rack7.1(ของช่างวุฒิ เชียงใหม่)
2.โปรแกรม DAW - Presonus Studio One
3. DAW Controller ตัว Presonus FaderPort Classic

ผมเคยนำวิดีโอคลิปฝรั่งแสดงการใช้FaderPort ClassicควบคุมโปรแกรมDAW Studio Oneมาให้ดูก่อนหน้านี้แล้ว บางท่านอาจดูไม่ค่อยเข้าใจ(เพราะฟังภาษาไม่ค่อยจะรู้เรื่อง)
ไม่เป็นไรครับ พยายามดูซ้ำๆก็จะได้เห็นและได้ยินภาษาฝรั่งชัดเจนขึ้นนเรื่อยๆ จะเข้าใจเอง
ระหว่างนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องราวการใช้อุปกรณ์ควบคุมโปรแกรมDAW(DAW Controller)แบบพื้นๆไปก่อน
คุณที่เคยเล่นกับDAWจะคุ้นเคยกับมันดีว่าหน้าที่หลักๆคือรับสัญญาณเสียงมาแล้วส่งผ่านออกไปคล้ายกับมิกเซอร์แทบทุกประการ กล่าวคือ มีTrackหลายแทร็คคล้ายFader Slideของมิกซ์ แต่ละแทร็คสามารถทำMute/ Solo/ เพิ่มFX/E.Q./Compressor/ ได้ มีMain Trackคล้ายกับMain Outของมิกเซอร์ แต่ละTrackสามารถส่ง(Send)ไปเอ้าท์พุท(Bus)แต่ละเอ้าท์ได้
ที่สำคัญ โปรแกรมDAWสามารถเก็บสัญญาณเสียงที่เข้ามาไว้เป็นข้อมูลในลักษณะที่แถบประจำของTrackที่เรียกว่า Wave Form ได้ด้วยการกดปุ่มบันทึก(record) นำมาเพลย์เล่นฟังหรือแก้ไขปรับปรุงให้มีลักษณะต่างๆภายหลังได้
รูปไอคอนคำสั่งที่อยู่บนโปรแกรมDAWจึงมีลักษณะไม่ต่างจากมิกเซอร์ เป็นเครื่องมือรูปไอคอนในลักษณะเป็นสัญลักษณ์ เครื่องหมาย สี และอื่นๆให้เราสั่งงาน ก็คล้ายกับโปรแกรมอื่นๆทั่วไปนั่นเอง

ทั้งหมดอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นตัวประมวลผล พื้นฐานก็มีอุปกรณ์ต่อพ่วงช่วยงานตามปกติ ได้แก่เม้าส์และคีย์บอร์ด ผู้ใช้ก็จะใช้อุปกรณ์สองตัวนี้กับDAWเช่นกัน เช่น
ใช้เม้าส์คลิก - เลือกเมนูคำสั่งต่างๆ / เพลย์ /สตอป/ อื่นๆ...
- เลือกแถบใดๆ ...
- ลากก้านสไลด์ในTrack/ลูกศรยุบหรือขยายหน้าต่าง/ปรับหมุน
ไอคอนปุ่มหมุน
ใช้คีย์บอร์ด - กดปุ่มฟังก์ชั่น F/ Shift/ Cltrl/ Tab/
- พิมพ์ตัวอักษรต่างๆ....
เป็นต้น
ปกติการใช้อุปกรณ์เม้าส์กับคีย์บอร์ดก็น่าจะเพียงพอกับคำสั่งพื้นๆทั่วไป
แต่กับโปรแกรมDAWที่เราต้องใช้ในฐานะ “แทนมิกเซอร์”ในระบบเสียงของเราซึ่งมิกเซอร์เราถ้าเป็นตัวNo Hard Fader เช่น
- AB1818vsl (และอื่นๆที่โมเดลคล้ายกัน)
- Behringer X18/Xr18 (และอื่นๆที่โมเดลคล้ายกัน)
- Soundcraft UI Series (และอื่นๆที่โมเดลคล้ายกัน)
- Allen&Heath Qu –Pac (และอื่นๆที่โมเดลคล้ายกัน)
- และ รุ่นอื่นๆที่ไม่มีFader
- ฯลฯ
นอกจากจะควบคุมDSPของตนเองบนจอคอมพิวเตอร์แล้ว จะต้องมาคุมDAWทำซ้ำซ้อนบนหน้าจอคอมพิวเตอร์อีก...คิดดู .คงไม่สะดวกนัก
โดยเฉพาะหน้าที่หลักๆเบื้องต้นที่ต้องใช้ควบคุมDSPแทนมิกเซอร์ในระบบของเราแล้ว ต้องมาควบคุมบาล้านซ์สัญญาณเสียงดนตรีeXtremeที่ผ่านเข้ามาแต่ละแชนแนลที่เฟดเดอร์สไลด์ของDAWอีก ลำพังเม้าส์และคีย์บอร์ดที่มีอยู่ไม่เพียงพอเสียแล้ว เราจำเป็นต้องหาตัวอุปกรณ์ภายนอกมาต่อพ่วงเพื่อทำหน้าที่นี้อีกต่างหากจะสะดวกกว่าแน่นอน
โปรแกรมDAWทุกตัวจะมีฟังก์ชั่นรับการทำงานไว้ต่อร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมอยู่ในเมนู..Setup Device หรือลักษณะคล้ายๆคำสั่งนี้แทบทุกตัว เมื่อมันถูกเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ด้วยสายสัญญาณ(หรือไม่ใช้สาย)และไดรเวอร์กับคอมพิวเตอร์แล้ว โปรแกรมDAWก็จะพบได้โดยอัตโนมัติและถูกเรียกมาให้ผู้ใช้เลือกได้ทันที
นี่คือที่มาของDAW Controller (อุปกรณ์ควบคุมโปรแกรมDAW)
บางคนเห็นคำว่า Midi Controller แล้วมันต่างกับ DAW Controllerตรงไหน
ตอบครับ ไม่ต่าง ตัวเดียวกันครับ ทั้งสองตัวใช้งานกับสัญญาณเสียงที่เป็น Digital Audio เหมือนกันครับ
ความจำเป็นเบื้องต้นที่ต้องเลือกหาDAW Controllerมาทำงานในระบบเสียงของเรา ให้คำนึงถึงคุณสมบัติ 2 ประการก่อน คือ
1.Fader Slide สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกของการเลือกหาDAW Controllerซักตัวหนึ่ง คือ เฟดเดอร์สไลด์ ซึ่งแต่ละตัวทำมาไม่เหมือนกัน
ต่างกันที่จำนวนช่อง ที่ความยาว ที่รายละเอียดบอกเป็นเส้นขีดหรือตัวเลข ที่เป็นแบบเลื่อนเอง(Motorized)และไม่เลื่อนเอง ที่ช่องแสดงสัญญาณของช่องสไลด์ เป็นต้น
มาตรฐานของช่องสไลด์ควรเป็นอย่างไรหละ เท่าที่ผมศึกษามา ควรเป็นดังนี้
1. จำนวนช่องควรมีอย่างน้อย 8 ช่อง
2. ความยาวควรมีถึง 100มม.
3. มีขีดระบุตัวเลข dB
4. เป็นชนิดเลื่อนเอง (Motorized) จะมาพร้อมแบบสัมผัสเลือก(Touch Sensitive)
5. ช่องแสดงสัญญาณ (VU)


นั่นย่อมหมายถึงราคาที่ต้องสูงกว่าตัวที่มีไม่ครบมาตรฐาน อย่างก็ตามจำนวนช่องอาจจะมีแค่หนึ่งช่องแต่ก็ถือว่าได้มาตรฐาน เช่น
- Presonus FadrePort Classic (บ้านเรามีขาย)
-

- Behringer X touch One (หายาก)
-

2. Fader function สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับสองของการเลือกหาDAW Controllerซักตัวหนึ่ง คือ ฟังก์ชั่นของเฟดเดอร์สไลด์ ซึ่งแต่ละตัวทำมาไม่เหมือนกัน ได้แก่
1. ปุ่มหมุนทำPan
2. ปุ่มกดทำ Mute/ Solo/ Select/ และArm(เตรียมบันทึกRecord)
3. ปุ่มกดเลื่อนย้ายไป/กลับจากแทร็คปัจจุบันชนิดครั้งละ1แทร็คและหลายแทร็ค(Channel/ Bank)
ความจำเป็นต่อมาที่ต้องเลือกหาDAW Controllerมาทำงานเป็นเครื่องบันทึกเสียงแทนมิกซ์จริงในระบบเสียงของเรา ให้คำนึงถึงคุณสมบัติประการต่อมา คือ
1. Transport สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับหนึ่งของการเลือกหาDAW Controllerซักตัวหนึ่งเพื่อบันทึกเสียง คือ กลุ่มฟังก์ชั่น Transport ได้แก่ ปุ่มต่างๆ คือ
บันทึก/
การเล่น/
การหยุดเล่น/
การหยุดเล่นชั่วคราว/
กรอกลับไปที่เริ่มต้น/
การกระโดดไปที่จุดสิ้นสุด/
เล่นวนไม่รู้จบ/
2. Automation สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับสองของการเลือกหาDAW Controllerซักตัวหนึ่งเพื่อบันทึกเสียง คือ กลุ่มฟังก์ชั่น Automation ได้แก่
1. Read
2. Write
3. Touch

และอื่นๆอีกยังมีอีกมาก ถ้าต้องการตัวที่ทำงานละเอียดมาก ตัวมันจะใหญ่ตามไปด้วย และแน่นอน ...ราคาก็สูงไปด้วยเช่นกัน
ใครมีทุนมาก..ก็เลือกหาไอ้ตัวใหญ่ๆมาใช้กันเลยครับ


บทนี้คงยุติแค่นี้ คราวหน้าจะทบทวนการ “นำสัญญาณเสียงมาลงให้DAW Controller”กันต่อครับ
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามครับ
สวัสดีครับ
