ตอนที่ ๖๕ เรื่อง การบันทึกภาพและเสียงร้องเพลงเล่นดนตรี (ตอน ๒๙)
เรียน เพื่อน พี่ น้องสมาชิกที่เคารพรักทุกท่าน สวัสดีครับท่านสมาชิกและผู้สนใจทุกท่าน บทความนี้ขาดช่วงหายไปนานทีเดียวครับ ตั้งแต่ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 2560 ทั้งนี้เป็นเพราะว่ามีภาระสำคัญเกิดขึ้นมากทั้งส่วนตัวและราชการงานประจำ ชีวิตคนเราเอาแน่อะไรไม่ได้ ร่างกายเกิดขึ้นมาแล้ว ก็แก่ และก็ดับสลายลงเป็นธรรมดา ที่แน่นอนคือควรใช้สติอยู่เสมอ เรื่องราวปัญหาจะเบาบางลง มีกำลังใจต่อสู้ชีวิต
ถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้มาคุยกับท่านทางบทความผมก็เขียนบันทึกลงที่อื่นไว้ ในสมุดบันทึกประจำวันของผมเอง ตอนนี้เข้าถึงเล่ม(สมุดนักเรียน)ที่23แล้วครับ บางเรื่องลืมไปแล้ว จำได้ว่าเคยบันทึกไว้ก็กลับไปค้นดู ได้มาคืนนี่เองที่ผมว่าต้องทบทวน
บทความตอนที่แล้วผมเขียนทบทวนคุณสมบัติของดิจิทัลมิกเซอร์
X18ของBehringerค้างไว้ แล้วมาฝึกใช้ ได้ผลโดยสรุปแล้วใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว สัญญาณที่ได้ก็ดี ไหลลื่นจนผมรู้สึกว่า เหมือนมันไม่มีอะไรเลย ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ หมายความว่าใช้ง่ายกว่า AB1818vslซึ่งมีขั้นตอนและอุปกรณ์ต่อพ่วงสลับซับซ้อนกว่าถ้าทำในเรื่องเดียวกัน
เห็นชัดๆคือเรื่องการRoutingและวางPatchสัญญาณI/Oเพื่อการบันทึกเสียงลงDAW X18มีDSPควบคุมที่สนับสนุน
USB 18 In/18 Out ได้เต็มระบบ ส่วน AB1818vsl มีDSPควบคุม สนับสนุน
USB 8 In/8 Outได้ไม่เต็มระบบ จนผมต้องย้อนมาหาสาเหตุที่ตัวAB1818vslอีกครั้ง เพื่อทดลองในแง่มุมอื่นๆที่เหลืออยู่ในการใช้งานบันทึกเสียง
คุณๆครับ การมีอุปกรณ์ทำงานเดียวกันหลายตัวมีข้อดีจริงๆคือ มีความเข้าใจมากขึ้น เพราะได้เปรียบเทียบคุณสมบัติกัน นำข้อดีของอีกตัวหนึ่งมาปรับใช้กับอีกตัวหนึ่ง เป็นประโยชน์ ได้ค้นพบคุณสมบัติที่เราไม่รู้
ผมขอขอบคุณท่านสมาชิกผู้เชี่ยวชาญ และสมาชิกน้องใหม่ที่เชี่ยวชาญงานของตน เขียนความรู้วิธีบันทึกเสียงร้องเพลง ดนตรีเอ๊กตรีมและเล่นดนตรีด้วยตนเองทับไลน์ไว้เป็นเกร็ดสั้นๆตามกระทู้ต่างๆทำให้เห็นแนวทางพัฒนาต่อไป
ผมอยากเห็นท่านผู้สนใจเขียนบทความรู้ไว้เป็นแหล่งอ้างอิงในกระทู้เหมือนที่ผมเขียนไว้จริงๆ จะได้มีความรู้ความเข้าใจกว้างขวางออกไปอีก
หลายท่านลงมือบันทึกเสียงและภาพ(วิดีโอ) ท่านได้ไฟล์นั้นอย่างไร เอาไปปรับเติมเสริมแต่งอะไรไหม ครับ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่อย่างไร บางไฟล์เป็นเฉพาะเสียงอย่างเดียว บางไฟล์เป็นทั้งภาพและเสียง
ณ เวลานี้เราไม่อาจเลี่ยงระบบดิจิทัลได้ เราควรเรียยนรู้และพัฒนาต่อครับ สิ่งที่ได้จากดิจิทัลคือ ระบบไฟล์ โปรดรักษาไว้ครับ เพราะสามารถนำมาใช้ใหม่ได้สะดวก รวดเร็วครับ
พื้นๆที่เห็นคือ ไฟล์โปรแกรมeXtreme_V.3 และไฟล์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ไฟล์เพลง XMK EMK ไฟล์ซาวด์ฟ้อนท์ ที่สำคัญ เมื่อเราเล่นแยกเสียงมิดี้ แยกลำโพง
เราควรอย่างยิ่งคือ เซฟเป็นไฟล์ Mapperไว้ ถ้าเรามีอุปกรณ์ซาวด์หลายตัวหลายแบบ ช่องต่อUSBหลังเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละช่องมีค่าI/Oของตัวเอง หากเราสลับช่องจะทำให้ค่าลำโพงของeXtremeเปลี่ยนไปด้วย มีวิธีแก้ไขง่ายที่สุดคือ เสียบให้ตรงกับอุปกรณ์เสียงทุกครั้ง(ที่เขาว่าไม่จำ ลืม จึงต้องจดไว้) หากจำเป็นต้องย้ายช่องUSB โปรดไปทำไฟล์Mapperให้กับช่องUSBแต่ละช่องกับอุปกรณ์เสียงแต่ละตัวไปให้ครบ เมื่อเสียบช่องไหนให้กับอุปกรณ์ไหน ก็เรียกไฟล์mapperที่มาค่าตั้งลำโพงนั้นมาใช้ เหมาะกับเจ้าของเครื่องที่จำเป็นต้องถอดโยกย้ายไปรับงานต่างๆมากครับ
นั่นประการแรกที่ต้องทำ คือเซฟไฟล์MapperแยกลำโพงของeXtreme ต่อไป
ประการที่สอง คือ เซฟไฟล์Sceneแยกสัญญาณของดิจิทัลมิกเซอร์ Sceneของดิจิทัลมิกเซอร์ เป็นค่าที่เรากำหนดวางเส้นทางสัญญาณเสียง เช่น แยกไลน์นี้ไปลงแชนแนลนั่น ปรับปรีเฟด โพสเฟด เกน(Gain)ตรงไหน อย่างไร สำหรับเล่นแยกไลน์ ไม่แยกไลน์ ปรุงแต่งเสียงไลน์ไหน อย่างไร ฯลฯ มิกซ์ดิจิทัลทุกตัวมีออปชั่นให้ผู้ใช้เซฟSceneอยู่แล้ว โปรดใช้เถอะครับ
ประการที่สาม เซฟค่าของโปรแกรมอื่นที่ท่านใช้ประจำกับงานเพลงดนตรีของท่าน ผมเองใช้DAW Studio One ประจำ ผมก็เซฟค่าการทำTrackบันทึกเสียงจากeXtreme_ASIO แบบแยกไลน์ ไม่แยกไลน์ และแบบอื่นๆ ฯลฯ
ทั้งหมดเป็นความจำเป็นเบื้องต้นที่ท่านน่าจะทำไว้ครับ คราวหน้า เราจะมาคุยกันถึงเรื่อง การบันทึกเสียง(และภาพ)กันต่อครับ มีการบันทึกอย่างหนึ่งในคอมพิวเตอร์
คือบันทึกหน้าจอ นับเป็นเรื่องน่าสนใจอีกเรื่องครับ ขอสืบเสาะหาความรู้เพิ่มอีกเล็กน้อยครับ
ทุกสิ่งในโลกมีลักษณะประตัวของมันเอง ถ้าเราเลือกลักษณะนั้นมาใช้ให้ถูกที่ ถูกเวลาและถูกบุคคลนับว่าสิ่งนั้นย่อมมีคุณค่าสมกับตัวมัน ขอบคุณที่ติดตามครับ พบกันใหม่ตอนต่อไป
สวัสดี
