หมวดหมู่ทั่วไป > บทความ ความรู้ วิชาการ ด้านต่าง ๆ

มาร้องเพลงให้ถูกหลักทฤษฎีกัน

(1/11) > >>

ภูวดิษฐ์:

1. อยากให้บอกว่าการร้องเพลงร้องเพี้ยนอย่างไร 

     ผมอยากให้เพื่อนๆ ดูรูปภาพนี้



เพื่อนๆ จะเห็นตารางภาพที่แสดงถึงความถี่ของเสียงว่า ในเสียงแต่ละเสียงที่เราเรียกกันว่าตัวโน้ตนั้น มีความถี่เท่าไร

เช่น เสียง A  หรือ เสียงลา  นั้น ความถี่ จะเท่ากับ 440 เฮิรตช์ เสียง G หรือเสียงซอล  จะเท่ากับ 392 เฮิรตช์

ความถี่เหล่านี้เทียบมาจากเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาสำหรับตั้งเสียงหรือจูนเสียงโดยเฉพาะ 

ซึ่งจะเห็นได้จากเวลาที่กีตาร์เทียบเสียง หรือพวกเครื่องเป่า หรือเครื่องอะคูสติก ตั้งเสียงเพื่อให้เข้ากัน

เมื่อเวลาที่เราร้องเพลง หรือเล่นดนตรี จะได้เกิดความสมดุลย์ของเสียง  และทำให้เสียงมีคุณภาพ  ไม่เพี้ยน

เพื่อนๆ  เคยสังเกตุไหมว่า  เพลงเดียวกัน  แต่ร้องโดยนักร้องหลายคน  ทำไมบางคนถึงฟังเพราะ  บางคนถึงฟังไม่ได้

นั้นเป็นเพราะเสียงของคนร้องแต่ละคนมีความถี่ของเสียงที่ไม่เท่ากัน บางคนร้องสูงได้ ร้องต่ำไม่ได้   บางคนร้องต่ำได้ ร้องสูงไม่ได้

หรือร้องได้เฉพาะเสียงกลางเสียงเดียว ขึ้นสูงไม่ได้ ลงต่ำก็ไม่ได้ บางคนเสียงหนา บางคนเสียงบาง บางคนเสียงแหบ

นั่นคือเหตุผลที่ ทำไม น้านพ สุพรรณ  น้าป้อมบิ๊กแบงค์ หรืออีกหลาย ๆ คน ถึงบอกว่าเพื่อนๆ ร้องไม่ดี  ร้องเพี้ยน

นั่นเพราะเพื่อนๆ  ร้องไม่ตรงกับความถี่ของเสียงนั้น ๆ เช่น  ร้องโน้ตตัว A  (ลา)  ความถี่จะต้องเป็น 440 เฮิรตช์

แต่ของเพื่อนๆ มันไม่ถึง 440  มันจะอยู่ในช่วง 420 - 435  มันจึงฟังแล้วเพี้ยน ไม่ว่าจะเป็นเพลงแนวไหน

ก็จะต้องร้องหรือเล่นให้ตรงกับความถี่ของเสียงหรือตัวโน้ตนั้น ๆ (ถ้าความถี่เพี้ยนไม่เกิน 5-10 จะฟังไม่ออกว่าเพี้ยน ยกเว้นหูนักดนตรีที่ฝึกมาดีจะฟังออก)

น้านพ  สุพรรณ  น้าป้อมบิ๊กแบงค์หรือคนอื่น ๆ นั้น เป็นนักดนตรีและนักร้อง

หูและสมองของคนเหล่านั้น จะซึมซับความถี่พวกนี้เข้าไปโดยไม่รู้ตัวจากการร้องและการเล่นบ่อย ๆ 

ทำให้จำความถี่ของเสียงเหล่านั้นได้แม่น  เพียงแต่อาจจะไม่รู้ตัว ว่าตัวเองจำไปแล้ว   เขาจึงฟังออกว่ามันเพี้ยน

เพื่อนๆ จำเป็นจะต้องศึกษาเรื่องเสียง และองค์ประกอบของมันให้เข้าใจและครบถ้วน

ถ้าตราบใดยังไม่เข้าใจเรื่องเสียง จะไม่มีทางร้องเพลง หรือเล่นดนตรีได้ดีไม่ว่าจะแนวไหนก็ตาม

เพราะเสียงมันเป็นนามธรรม ไม่สามารถจับต้องได้ จึงต้องอาศัยอารมณ์ ความรู้สึก และความถูกต้องของทฤษฏีมารองรับ

อารมณ์และความรู้สึก ก็จะต้องเที่ยงตรงและเป็นไปตามทฤษฏี ถ้าไม่ใช้ทฤษฏีมารองรับก็จะเกิดปัญหาตามมามากมาย

เพราะจะตอบคำถามเขาไม่ได้ว่าทำไมถึงเพี้ยน เนื่องจากอารมณ์ ความรู้สึกของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

ดังนั้นเขาจึงมีวิชา การฝึกการใช้หู หรือ เอียร์ เทรนนิ่ง   เพื่อให้หูของเราสามารถจำเสียงและความถี่ได้แม่น

คนที่เก่ง ๆ เขาฟังออกแม้กระทั่งว่า เหรียญบาทตกกระทบพื้น  เสียงที่กระทบพื้นนั้นตรงกับเสียงของโน้ตตัวใด

ในการฝึกเล่นดนตรีหรือร้องเพลงนั้น  เราจึงจำเป็นจะต้องศึกษาเรื่องของเสียงก่อนเป็นอันดับแรก




2. เสียงสแนร์เป็นอย่างไร   

ดูรูปนี้ครับ



หมายเลข 1  คือสแนร์  ให้เสียงที่สว่าง เดินจังหวะที่มั่นคง

หมายเลข 2 คือกลองทอมซ้าย ให้เสียงทุ้มนุ่ม

หมายเลข 3 คือกลองทอมขวา ให้เสียงทุ้มนุ่มและเสียงต่ำกว่าทอมซ้าย

หมายเลข 4 คือกลองเทนเนอร์ ให้เสียทุ้ม เสียงต่ำกว่าทอมขวา

หมายเลข 5 คือ ไฮแฮท 

หมายเลข 6 คือซิมหรือ ฉาบ ซ้าย เสียงจะออกใส ๆ  แบน ๆ

หมายเลข 7 คือซิมหรือ ฉาบขวา เสียงจะกว้างกว่า ข้างซ้าย

หมายเลข 8 คือกลองใหญ่ หรือ เบสดรัม ให้เสียงต่ำมาก ๆ เสียงจะกระแทกที่หน้าอก

เสียงสแนร์ จะเป็นแบบที่ผมอธิบายไว้

เสียงกลองจะเป็นเสมือนชีพจรของดนตรี หรือหัวใจของดนตรี ถ้าเมื่อไรที่จังหวะไม่มั่นคง

ทุกอย่างในวง จะเสียทั้งหมด  ชีพจรของคนเรานั้นธรรมดาจะเต้นที่ 72 ครั้งต่อนาที

ดังนั้นเพลงใดก็ตามที่มีจังหวะความเร็ว หรือที่เราเรียกว่า Tempo มีค่าที่ 72

เพลงนั้นจะเป็นเพลงที่ฟังได้สบาย ๆ ไม่รู้สึกเครียด มีความผ่อนคลาย

เช่น จังหวะโบเลโร่  สโลว์โซล ฯลฯ เมื่อฟังแล้วจะฟังได้นาน (ถ้าองค์ประกอบอื่น ๆ ครบ)

การตั้งกลองแบบนี้เป็นลักษณะการตั้งกลองแบบแจ็ส  เพราะกลองมีน้อยใบ

และตั้งแบบต่ำ ๆ ไม่สูง เนื่องจากการตีกลองแจ็สนั้น จำเป็นต้องใช้ข้อมือในการตีมาก ๆ

ต้องใช้ความเร็วในการเปลี่ยนการตีลูกกลองแต่ละใบ ซึ่งอาจจะต่างจากดนตรีแนวอื่น ๆ

กลองแต่ละชุด จะมีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง บางชุดเหมาะกับ แจ็ส

บางชุดเหมาะกับลูกทุ่ง ฯลฯ  เราจึงจำเป็นจะต้องใช้ให้มันถูกกับแนวเพลงของเราที่จะร้อง

ท่านแอดมิน มานพ ตอบท่านว่า ไม่ชอบเสียงสแนร์ เพราะสาเหตุนี้ครับ

เสียงสแนร์ของเพื่อนๆ  มันไม่เข้ากับแนวเพลงที่ท่านร้อง ท่านแอดมินมานพนั้นเป็นกูรูในด้านการฟังเพลง

เครื่องเสียงที่บ้านท่าน  มีมาตรฐานดีมาก ๆ เพราะฉะนั้น หูของเขาจึงได้เสพเสียงที่ดี ๆ

เขาจึงแยกออกว่า เสียงนั้นใช่ หรือไม่ใช่ เพียงแต่เขาอธิบายออกมาเป็นทฤษฏีไม่ได้

เนื่องจากเขาไม่ได้เรียนเรื่องทฤษฏีดนตรีมาก่อน


3. เรื่องที่ 3 นี้ เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับผม

เพราะมันเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมตัดสินใจที่จะโพสต์ข้อความนี้ นั่นคือเรื่อง

"การวิจารณ์บทเพลง และดนตรี"

  การที่เราจะวิจารณ์บทเพลงหรือดนตรีนั้น  เราจะต้องมีความรู้เรื่องขององค์ประกอบทางด้านดนตรีอย่างลึกซึ้ง

เพราะเมื่อไรที่เราวิจารณ์โดยใช้ความรู้สึก ไม่ใช้ข้อเท็จจริง ไม่อิงหลักการ ไม่ผ่านการรองรับจากทฤษฏี

มันจะเกิดการโต้เถียง และทะเลาะกันไม่รู้จบ  เหมือนกับกระทู้ของเพื่อนๆ

ทำไมผมถึงว่ามันเป็นเรื่องใหญ่จนผมต้องออกมาโพสท์   ขออธิบายอย่างนี้ครับ

   มันเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้วิจารณ์ที่ใช้เพียงแค่ปากกากับกระดาษเขียนวิจารณ์คนอื่น

ข้อความไม่กี่บรรทัดมันสามารถที่จะพลิกอนาคตของคน ๆ หนึ่ง ให้จมธรณี หรือ พุ่งทะลุฟ้าได้

แต่มันเป็นเรื่องยากมาก ๆ สำหรับผู้ที่ถูกวิจารณ์ที่จะทำใจให้ยอมรับ ถ้าสิ่งที่วิจารณ์มันไม่เป็นจริง

ผมจะเปรียบเทียบให้ดูครับ  การวิจารณ์เรื่องการร้องเพลงนั้น มันก็เหมือนกับ การตัดสินประกวดร้องเพลง

หรือประกวดวงดนตรี ซึ่งจะมีหัวข้อ หรือเกณฑ์ในการให้คะแนน เช่น เสียงร้อง ให้คะแนนเท่าใด

ดูรูปประกอบครับ




จากรูปเพื่อนๆ  จะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์ในการให้คะแนน หรือหลักเกณฑ์ในการวิจารณ์จะอยู่ในขอบข่าย

ขององค์ประกอบตามหัวข้อ  ว่าแต่ละหัวข้อให้คะแนนเท่าใด ซึ่งมันก็คือองค์ประกอบของดนตรีหรือบทเพลงนั่นเอง

สำหรับเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ เพื่อนๆ ลงคิดตามดูนะครับ

สมมติว่าเราได้ไปตัดสินการประกวดร้องเพลง (หรือวิจารณ์) ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง

แล้วเราไปตัดสินโดยใช้ความรู้สึกของตัวเองเป็นใหญ่โดยไม่อิงหลักการหรือทฤษฏี

แล้วมันเกิดผิดพลาด  ทำให้นักเรียนร้องดี ไม่ผ่าน  แต่นักเรียนร้องไม่ดีผ่าน อะไรจะเกิดขึ้น

นักเรียนที่ร้องดี จะเกิดการท้อแท้ และเกิดคำถามมากมาย จากคนที่มั่นใจในตัวเอง

จะกลายเป็นคนที่ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เขาจะมีอนาคตที่ผิดพลาด

แทนที่จะเป็นนักร้องระดับประเทศ หรือนักร้องอัดแผ่น  ก็อาจจะกลายเป็นช่างก่อสร้าง

หรือลูกจ้าง   เห็นไหมครับว่าการวิจารณ์ที่ผิดพลาดนั้นมันให้ผลอย่างไร

สิ่งที่ตามมาอีกอย่าง คือ คำพูดนี้

" ใครเป็นคนตัดสินร้องเพลงมึงว่ะ   ปล่อยให้ผ่านมาในระดับนี้ได้ยังไง

กรรมการตัดสิน หูมันพิการหรือยังไง" 

ถ้าอยากจะวิจารณ์จะต้องเข้าใจองค์ประกอบของดนตรีก่อนครับ 

1. เสียง (Tone) เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ 4ประการ คือ ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง

1.1 ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง

1.2 ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง

1.3 ความเข้มของเสียง (Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง

1.4 คุณภาพของเสียง (Quality

2. พื้นฐานจังหวะ (Element of Time)3. ทำนอง (Melody)4. พื้นผิวของเสียง (Texture)

3. ทำนอง (Melody)

4. พื้นผิวของเสียง (Texture)

    4.1 Monophonic Texture

    4.2 Polyphonic Texture

    4.3 Homophonic Texture
   
    4.4 Heterophonic Texture

    5. สีสันของเสียง (Tone Color)

จิตกร:
ปักหมุด เก็บเป็นความรู้ครับพี่  :th2:

ภูวดิษฐ์:
5555555   เอิ๊ก ๆๆๆๆๆๆ

ผมเขียนจากประสบการณ์

ผิดถูกยังไงก็ขออภัย  

รอกูรูที่รู้จริงมาอธิบายต่อ  

แต่ที่แน่ ๆ ผมไม่ได้เอามาจากถุงกล้วยแขกเหมือนตาอู๊ดเด้อ

บุญหลาย:
เยี่ยมมากครับอาจารย์ :th2:

Amorn Pattaya:
ดีครับ เปลี่ยนชื่อหัวข้อ จะได้ไม่ถูก ครหาว่าอิงกระแส...ขอบคุณครับครูที่เอามาเผยแพร่.. :thank1:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version