ผู้เขียน หัวข้อ: มาคุยกันเรื่อง วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)  (อ่าน 186858 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ไก่ต๊อก

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 2338
  • HL#840A3EF9 (x-men)
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #50 เมื่อ: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2013, 17:52:58 น. »
คำพูดสั้นๆ เข้าใจง่าย อ่านแล้วนึกภาพออก นำไปทำตามขั้นตอนได้ทันที   :th2:   :thank1:


ออฟไลน์ กระป๋อง

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 6824
  • HL- 4408C2D9 พอใจเท่าที่มี...ยินดีเท่าที่ได้
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #51 เมื่อ: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2013, 18:21:30 น. »
เล่นถามไปล่วงหน้าซะอีกนะ  เดี๋ยวก็ถึงตอนความถี่ย่านกลางและแหลม อดใจรอเพื่อน ๆ ก่อนนะครับ  

คงต้องขออภัยล่วงหน้าด้วยนะครับ หากว่าบทความที่ผมเขียนค่อนข้างช้า ไม่ต่อเนื่องทั้งนี้เนื่องจากผมออนไลน์แล้วเขียนกันแบบสด ๆ  ไม่ได้เขียนเสร็จก่อนแล้ว
ค่อยมาโพส เลยอาจจะไม่ค่อยทันใจเพื่อน ๆ สมาชิกเท่าไหร่นักนะครับ  ถึงตรงนี้มีท่านใดไม่เข้าใจ หรือสงสัยในเรื่อง ความถี่ย่านโลว์ , แบบฟิลเตอร์ และ ค่าความ
ลาดชัน ก็ถามเข้ามานะครับ  ก่อนที่จะไปกันต่อ

 :party:


ทำเป็นหนังสือขายก็ดีนะครับ แจ่มแท้ๆ ครับ

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #52 เมื่อ: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2013, 18:57:59 น. »
ทำเป็นหนังสือขายก็ดีนะครับ แจ่มแท้ๆ ครับ

คงไม่ไหวหรอกครับท่าน ผมไม่ใช่ผู้รู้จริง ๆ เพราะไม่ได้ร่ำเรียนมาแต่อย่างใด  ผมจบบัญชีไม่ได้จบ วิศวะ  อาศัยแอบอ่านเอาตามเวปต่าง ๆ
สอบถามจากท่านผู้รู้ ในเรื่องที่ไม่รู้  ทดสอบและทดลอง ด้วยตนเองด้วยเครื่องไม้ เครื่องมือที่พอจะหาซื้อได้ ตลอดจนไปศึกษาและทดสอบ
จากหน้างานจริง ๆ ของเพื่อน ๆ สมาชิก (ดีนะไม่ทำงานเค้าล่ม อิอิ)

ผมเป็นพ่อค้าขายสินค้า  ก็แค่อยากนำสิ่งที่ตนเองได้อ่านมา และนำไปทดสอบจนคิดว่าใช่ (อาจจะผิดก็ได้) มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ สมาชิก
อย่างน้อยเพื่อน ๆ ก็จะได้นำไปทดลองทำกันดู   หากว่าทดลองแล้วไม่ใช่ ไม่ชอบใจก็ต้องขออภัยล่วงหน้ากันก่อนนะครับ  แต่หากว่าลองแล้วใช่
ก็ขอยกเครดิตทั้งหมดให้กับท่านผู้รู้ ตลอดจนครูพักลักจำที่ผมไปแอบศึกษามาโดยไม่ได้เสียสตางค์แต่อย่างใดด้วยครับ สิ่งที่ผมจะได้กลับคืนมา
หาใช่เงินทองแต่อย่างใด 

สิ่งที่ผมจะได้ทางอ้อมคือ เมื่อท่านสามารถใช้งานกันได้อย่างถูกต้อง ความเสียหายที่จะเกิดกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็จะลดน้อยลง อันเป็นการช่วยแบ่งเบา
ภาระในเรื่องของ After Sale Service นั่นเอง

 :thank1:  

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2013, 19:09:28 น. โดย AJ-AUDIO »

ออฟไลน์ จิตกร

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4575
  • รักและเคารพเพื่อนๆทุกคน
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #53 เมื่อ: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2013, 19:16:21 น. »
โอ้หลังจากที่ได้อ่านทำความเข้าใจ แล้วมาลองของจริง เข้าท่าดีจริงๆครับพี่ ตอนนี้ผมใช้ของพี่อยู่ ajx718 +ps115 แล้วลองไล่เปลี่ยนค่าดู ใช้หูแทนสมาทไล้ท์ครับ ;D ;D ;D

เดี๋ยวตามตอนเสียงกลางและแหลมต่อไปครับ(ขอเป็นแบบแยกด้วยนะพี่)

ytpm

  • บุคคลทั่วไป
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #54 เมื่อ: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2013, 19:22:34 น. »
ขอบคุณมากครับเฮีย สำหรับความรู้ที่นำมาเผยแพร่ :thank1: ปีนี้อยากให้เฮียจัดอบรม แต่ละภาคอีก เสียดายเมื่อครั้งที่แล้ว งานอยุธยา ลงทะเบียนไว้ไปไม่ได้น้ำท่วม :thank1:

ออฟไลน์ รมณีย์ซาวด์

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 109
  • 8E62C085 -768D99EC-76E548B0-234963CC- 8F6074FA ครู
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #55 เมื่อ: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2013, 19:28:50 น. »
ขอบคุณครับเฮีย.. :happy:นี่แหละ...พระเอกตัวจริง  ของรากหญ้า :thank1:

ออฟไลน์ papan579

  • ระดับ 4
  • **
  • กระทู้: 374
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #56 เมื่อ: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2013, 20:33:51 น. »
โอ้หลังจากที่ได้อ่านทำความเข้าใจ แล้วมาลองของจริง เข้าท่าดีจริงๆครับพี่ ตอนนี้ผมใช้ของพี่อยู่ ajx718 +ps115 แล้วลองไล่เปลี่ยนค่าดู ใช้หูแทนสมาทไล้ท์ครับ ;D ;D ;D

เดี๋ยวตามตอนเสียงกลางและแหลมต่อไปครับ(ขอเป็นแบบแยกด้วยนะพี่)
รอเหมือนกันครับ  :th2:

ออฟไลน์ มานพ

  • ผู้ดูแลระบบ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 123099
  • 9664E44E,11D88A55,7C1132A8
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #57 เมื่อ: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2013, 20:38:06 น. »
นี่คือสิ่งที่ผมอยากรู้มานานแระ   

ต่อ ๆ   ชอบมั่กมาก

จะได้ไม่ต้องไปถามใคร   ถามทีไร เจ็บตัวทุกที 

จะจำไว้ ว่าจะไม่ถามอะไรอีก


ความคุณครับสำหรับบทความดีๆ  :flower:

ออฟไลน์ ภูวดิษฐ์

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 8188
  • HL740E3299
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #58 เมื่อ: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2013, 20:44:34 น. »
จะจำไว้ ว่าจะไม่ถามอะไรอีก


ความคุณครับสำหรับบทความดีๆ  :flower:

นั่น นั่น นั่น   นี่ขนาดยังไม่ได้ถามเรยยยยยยยยยยยย

ออฟไลน์ spk

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 3
  • *
  • กระทู้: 75
  • 9663645B วิชัยคนธรรพ์
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #59 เมื่อ: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2013, 22:07:06 น. »
อย่างที่ผมกล่าวมาแล้ว ตู้แต่ละสูตรถูกออกแบบมาให้เน้นที่จะตอบสนองความถี่ในเฉพาะช่วงที่ต้องการ แตกต่างกันออกไปแต่ละสูตร
สำหรับตู้ ออร์เดอร์ 6 ที่ผมเคยทดสอบมา มักจะตอบสนองความถี่ในช่วงที่แคบมาก ๆ เพื่อรีดพลังในช่วงที่ต้องการให้สูงขึ้น  ยกตัวอย่าง
ตู้ที่ผมเคยทำการทดสอบ  ตอบสนองความถี่อยู่เพียงแค่ช่วงจาก  50Hz ~ 80Hz เท่านั้น ไม่ว่าท่านจะตัดความถี่ให้กว้างกว่านั้น  ตู้ก็จะ
ทำงานแค่ความถี่ช่วงนั้นเท่านั้นครับ  เป็นตู้สูตรที่แทบจะไม่ต้องใช้ครอสตัดความถี่ให้ด้วยซ้ำ (แต่ถ้าไม่ใช้ พาวเวอร์แอมป์ก็จะทำงาน
หนักโดยไม่ได้ประโยชน์ แทนที่จะทำงานเฉพาะความถี่ที่ตู้ตอบสนองได้)

ดังนั้นหากตู้ของท่านใช้พารามิเตอร์ที่ผมทำสำหรับตู้ AJX-718s แล้วมันไม่แซบ  ก็ต้องมาดูว่าตัวตู้กับดอกที่ท่านใช้นั้น แมทช์กันหรือไม่ครับ
เพราะจุดตัดที่ผมทำนั้น แทบไม่มีผลกับการทำงานของตู้สูตรนี้เลยครับ  อีกอย่างหากท่านเน้นเสียงโลว์แบบจุกอก ตู้ออร์เดอร์ 6 ไม่ใช่
คำตอบ เพราะย่านความถี่ที่ตู้ทำงานนั้น เป็นย่ายความถี่ของกระเดื่อง ไม่ใช่เบสสาย มันจะออกลูกลึก เข้าท้อง แต่ไม่จุกอกครับ

ตู้อีกสูตรหนึ่งที่ผมเพิ่งมีโอกาสได้ใช้ Dxdrive ทำจุดตัดความถี่ให้ในงาน หัวนาปาร์ตี้ ที่ จ.ร้อยเอ็ด คือ ตู้ F Horn ค่าจุดตัดความถี่ที่ผมได้
ทดลองในครั้งแรกคือเริ่มจาก 35Hz ~ 120Hz  เสียงโลว์ออกมา จุกอก จริงตามคำร่ำลือ  แต่รู้สึกว่าขาดย่านต่ำ  เพื่อความแน่ใจ ผมจึง
ได้ลองลดความถี่ด้าน Low Pass ลงมาเรื่อย ๆ จนถึง 100Hz ปรากฎว่าเสียงหายไปเกินครึ่ง  นั่นหมายความว่า ตู้ F Horn ทำงานตอบ
สนองความถี่ได้รุนแรงในช่วงจาก 100Hz ~ 120Hz ซึ่งเป็นช่วงความถี่เสียงต่ำของเบสสาย  ตู้ตัวนี้จึงเหมาะสำหรับดนตรีประเภท ลำซิ่ง
ซึ่งเน้นเบสสายเป็นหลัก  แต่หากนำมาใช้กับดนตรีทั่วไป จะขาดอรรถรสของลูกกระเดื่อง เรียกว่าจุกอกอย่างเดียว แต่มันไม่เข้าท้อง 555    

 :thank1:
ขอบคุณครับท่าน

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #60 เมื่อ: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2013, 22:54:20 น. »
มาคุยกันต่อครับ

การตัดแบ่งความถี่ย่านเสียงกลาง (Mid Range)

จากตอนที่ผ่าน ๆ มา คิดว่าเพื่อน ๆ น่าจะเข้าใจกันมากขึ้นถึงรูปแบบฟิลเตอร์ที่จะเลือกใช้ และ การตั้งค่าความลาดชัน
ที่จุดตัดความถี่กันไปแล้วในเบื้องต้น  ตลอดจนรู้ถึงการตัดแบ่งความถี่เบื้องต้นในย่านเสียงต่ำ (Low Range) แล้วเช่นกัน
ต่อไปเรามาดูกันว่าจะตัดแบ่งความถี่ในย่านเสียงกลาง (Mid Range) กันอย่างไร? จึงจะเหมาะสม

สำหรับท่านที่ใช้ครอสอนาล็อก จุดเริ่มของย่านความถี่เสียงกลางก็จะเป็นจุดเดียวกันกับ จุดสิ้นสุดของย่านเสียงต่ำโดย
หลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งนี้เพราะครอสอนาล็อกออกแบบมาเช่นนั้น (รวมทั้งเลือกรูปแบบของฟิลเตอร์ และค่าความลาดชันไม่ได้)

ทีนี้สำหรับท่านที่ใช้ครอสดิจิตอล คำถามคือ จะตั้งจุดตัดแบ่งความถี่เริ่มต้นของย่านเสียงกลางเป็นจุดเดียวกับจุดสิ้นสุดของ
ย่านเสียงต่ำดีหรือไม่?

คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของตู้ซับที่ท่านใช้งานว่า ณ. จุดที่สิ้นสุดย่านความถี่ที่เราทำไว้นั้น ตู้ตอบสนองเป็นเช่นไร?
ถ้าตู้ซับทำงานตอบสนองได้ราบเรียบดี (Flat) จนถึงจุดสิ้นสุดย่านความถี่  เราก็สามารถใช้จุดแบ่งความเดียวกันได้เลยเหมือน
ครอสอนาล็อก  

หากแต่ถ้าตู้ซับทำงานตอบสนองความถี่ ณ. จุดสิ้นสุดย่านความถี่ของเสียงต่ำได้ไม่ดี  เราก็สามารถกำหนดจุดแบ่งความถี่
เริ่มต้นของย่านเสียงกลางให้ทับซ้อนกับย่านเสียงต่ำได้ เพื่อช่วยเพื่มเสียงให้กับตู้ซับในช่วงความถี่นั้น ๆ  ยกตัวอย่างเช่นเรา
ตัดย่านเสียงต่ำมาจนถึงความถี่ 120Hz  แต่ตู้ซับที่เราใช้งานตอบสนองในช่วงความถี่จาก 110Hz ~ 120Hz ได้ไม่ดี  เรา
ก็สามารถกำหนดจุดแบ่งความถี่เริ่มต้นของย่านเสียงกลางให้เริ่มจาก 110Hz หรือต่ำกว่านั้น เพื่อช่วยยกเสียงในช่วงนั้น ๆ ขึ้นมา
อีกทางหนึ่งนั่นเอง

สำหรับจุดสิ้นสุดย่านความถี่เสียงกลางนั้น เราจะพิจารณาจากสเปคของดอกลำโพงที่ใช้ทำเสียงกลางเป็นหลัก  โดยทั่วไป
สำหรับดอก 15" มักจะตอบสนองความถี่ได้ดีตั้งแต่ 70Hz ไปจนกระทั่ง 2.5kHz โดยประมาณ ส่วนดอก 12" ก็จะอยู่ในช่วง
85Hz ถึง 2.5kHz โดยประมาณ ส่วนจะตอบสนองได้ราบเรียบขนาดไหน ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของดอกลำโพงที่เราเลือกใช้

ดังนั้นสำหรับจุดสิ้นสุดย่านความถี่เสียงกลาง ยังต้องคำนึงถึงดอกยูนิตแหลมที่เราเลือกใช้ร่วมด้วยว่าสามารถตอบสนองความถี่
ได้ดีเริ่มตั้งแต่ความถี่ที่เท่าไหร่  แต่จากประสบการณ์ในการทำจุดตัดความถี่สำหรับดอกลำโพงหลาย ๆ รุ่น หลาย ๆ ยี่ห้อ เพื่อ
ความคงทนของยูนิตเสียงแหลม   ผมอยากจะแนะนำว่าให้กำหนดจุดตัดความถี่สำหรับเสียงกลางไปจนถึงความถี่ 2kHz เป็น
อย่างน้อย     ถึงแม้ว่าดอกยูนิตแหลมจะสามารถตอบสนองความถี่ได้ดีต่ำกว่าความถี่ 2kHz ก็ตาม แต่ทั้งนี้มักจะไม่ค่อยทน
ถ้าหากเราตัดจุดตัดความถี่ต่ำกว่า 2kHz ลงมา   ยกเว้นดอกยูนิตยี่ห้อดี ๆ แพง ๆ (บางยูนิตราคาเหยียบหมื่นก็มี)  ซึ่งเรา ๆ ก็คง
ไม่หามาใช้กันแน่  (ดอกยูนิตแหลมดี ๆ บางรุ่นสเปคเคลมไว้ที่ความถี่เริ่มต้นตั้งแต่ 800Hz ~18kHz ก็มี)

รูปประกอบดัานล่างนี้ เป็นรูปกราฟย่านความถี่เสียงต่ำ และเสียงกลางที่ผมทำไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 00:35:32 น. โดย AJ-AUDIO »

ออฟไลน์ กุ้งดีโฟร์ดี(Kungd4d)

  • คณะก่อการ
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • ***
  • กระทู้: 8708
  • HL#6C88488C : 7D2D1563 จอมยุทธเอ็กซ์
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #61 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 06:56:22 น. »
 :beer: :cheer: เห็นอย่างนี้ ก็อยากจะหาครอสดิจิตอลมาครอบครองไวๆเลย เพราะว่ากำหนดจุดตัดได้ดั่งใจมากเลย จากที่ได้เอาไปทดสอบวันก่อนที่งานระโนดครับ  :th2: :th2:

nuttasad

  • บุคคลทั่วไป
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #62 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 07:31:30 น. »
สุดยอดครับ ความรู้ล้วนๆ

ออฟไลน์ mixmas

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 2231
  • HL#6D221874 (ริมมูลน้อย)
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #63 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 07:38:01 น. »
ขอบคุณมากครับ :th2:

ออฟไลน์ วันชัย

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 853
  • N&S Music sound HL#5565D718(ฅนคอน)
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #64 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 09:03:30 น. »
ขอบคุณครับ..เซฟไว้ก่อน :thank1:

ออฟไลน์ โด่งครับ

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 1787
  • HL#: 4D2F90F0 ท่านชายอ่ำ
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #65 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 10:07:21 น. »
ขออนุญาติท่านเจ้าของกระทู้  สำหรับท่านที่อยากเซฟเอาไว้เป็นครูครับ.... :thank1:

รวบรวมบทความจาก AJ-AUDIO (เฮียสมโภชน์)

วันนี้ผมจะมาคุยกับเพื่อนสมาชิกในหัวข้อเรื่อง " วิธีการตัดความถี่จากครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น) "

ทำไมถึงมีวงเล็บว่า เบื้องต้น  ทั้งนี้เป็นเพราะว่าตู้ลำโพงที่เราใช้งานกันอยู่นั้น มีหลากหลายสูตร หลากหลาย
ยี่ห้อ ทำให้การเลือกตัดความถี่จากครอส ไปยังตู้ลำโพงแต่ละตัวนั้นผิดแผก แตกต่างกันไปในรายละเอียด  แต่ใน
เบื้องต้นนั้น ใกล้เคียงกันมาก จึงจะขอพูดคุยกันถึงวิธีการเบื้องต้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำงานก่อน  ส่วนใน
รายละเอียดนั้น ท่านต้องไปทำการปรับให้เข้ากับตู้ลำโพงที่ท่านใช้งานอีกครั้งหนึ่ง

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ความถี่เสียงที่หูมนุษย์ สามารถตอบสนองได้นั้นเริ่มตั้งแต่ 20Hz ไปจนกระทั่ง 20kHz
และยังตอบสนองต่อความถี่ต่างๆ ได้ดีไม่เท่ากันอีกด้วย  

เรามาดูภาพประกอบกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น



ย่านความถี่ของเสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ





ขออนุญาตยกบทความจากเวปไซด์เครื่องเสียงรถยนต์ (emotioncar.com) มาตอนหนึ่งเพื่ออธิบายรูปด้านบน (กินแรงชาวบ้าน) แต่ขออนุญาตแก้ไขบางประโยค
เพื่อให้เข้ากับเครื่องเสียงกลางแจ้งที่เรากำลังคุยถึงกันอยู่


ช่วงการตอบสนองความถี่หากแบ่งคร่าวๆ จะแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วง   แต่กราฟนี้จะแยกให้ละเอียดขึ้นไปอีก โดยแบ่งออกเป็น 8 ช่วงความถี่ดังนี้

ช่วงที่ 1 เรียกว่าย่านเบสลึก ประมาณ 20-40 ช่วงนี้จะไม่ได้ยิน แต่จะได้ความรู้สึก แบบว่าสิ่งของรอบข้างสั่นสะท้าน

ช่วงที่ 2 เรียกว่าย่านพลังเบสแล้วกัน ประมาณ 40-100 ช่วงนี้จะเป็นช่วงเสียงเบสที่มีความรู้สึกกระแทกๆ เช่น เสียงกลองจากใบที่ใหญ่ที่สุด
ที่ใช้เท้าเหยียบ เสียงกระแทกจุกอกก็ช่วงนี้แหละครับ

ช่วงที่ 3 เรียกว่าย่านเบสปกติ ประมาณ 100-200 เช่นพวกกีต้าร์เบสเส้นกลางๆ (ถ้าเป็นสายเส้นใหญ่ อาจจะลงไปถึงช่วงพลังเบส หรือปลายๆเบสลึกได้เลย)
ถ้าช่วงนี้ขาดไปแบบว่าน้อยไป เราก็จะรู้สึกว่าขาดเสียงเบส แต่ถ้ามากเกินไป ก็จะทำให้เสียงโดยรวมฟังดูทึบๆได้ ที่เราฟังเพลงแล้วบอกว่าเสียงกลางน้อยไป
จริงๆอาจจะไม่ใช่นะครับ อาจจะเป็นที่ช่วงนี้มากเกินไป แล้วไปกลบเสียงกลาง

ช่วงที่ 4 เรียกว่าย่านเนื้อเสียงแล้วกัน ประมาณ 200-800 ย่านนี้จะครอบคลุมถึงเสียงร้องย่านต่ำๆ เช่นเสียงผู้ชายต่ำๆ ถ้าช่วงนี้มีมากกำลังดี จะช่วยเรื่อง
ความอุ่นของเสียง Warmth sound ถ้ามากไปเสียงรวมๆก็จะไม่เคลียร์เท่าที่ควร ถ้าน้อยไปก็จะขาดเนื้อเสียง

ช่วงที่ 5 เรียกว่าย่านเสียงกลางหลักแล้วกัน ประมาณ 800-2,000 ย่านนี้มีเครื่องดนตรีหลายชนิด รวมไปถึงเสียงร้องหลักๆ ถ้าขาดย่านนี้ไป เสียงจะเบาบาง
บี้แบน แต่ถ้ามากเกินไป มันจะดังหนวกหู

ช่วงที่ 6 เรียกว่าย่านเสียงกลางสูงแล้วกัน ประมาณ 2,000-5,000 ย่านนี้จะมีเสียงเครื่องเป่า พวกกีต้าร์สายเส้นเล็ก ถ้าย่านนี้มากเกินไป ฟังนานๆหูจะล้า
แต่ถ้ามากเกินไปเยอะจะแสบหูเลย

ช่วงที่ 7 เรียกว่าย่านเสียงแหลม ประมาณ 5,000-10,000 ย่านนี้ผมเรียกว่าย่านเนื้อเสียงแหลมแล้วกัน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะทองเหลือง (เหล็ก)
ทั้งหลาย ถ้าช่วงนี้หายไป เสียงจะดูทึบๆ แต่ถ้ามากเกินไปเสียงเครื่องเคาะประเภทนี้จะฟังดูพุ่งเกินจริง

ช่วงที่ 8 เรียกกว่าย่านปลายแหลม ประมาณ 10,000-20,000 ย่านนี้จะมีเสียงฉาบอยู่ด้วย แล้วจริงๆย่านนี้จะไม่ค่อยมีเสียงหลักของเครื่องดนตรีอะไร
แต่ว่ามันจะเป็นลักษณะของบรรยากาศมากกว่า ถ้าขาดย่านนี้ไป อาจจะฟังดูเสียงเครื่องดนตรีครบอยู่ ฟังดูเผินๆอาจจะเหมือนย่านนี้ไม่สำคัญ
แต่จริงๆ แล้วมีสำคัญไม่น้อยเลย ถ้าขาดย่านนี้ เสียงจะไม่มีความไพเราะ ขาดบรรยากาศที่น่าฟัง

เมื่อเรามาพิจารณาถึงย่านเสียงที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว  หากเราสามารถจัดระบบเสียงของเราให้ย่อยออกได้ถึง 8 ย่าน ก็จะได้สามารถปรับแต่ง
ให้เสียงออกมาได้น่าฟัง และใกล้เคียงกับเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงมากที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราคงไม่สามารถจัดระบบเสียงของเรา
ให้แบ่งย่อยออกได้ถึง 8 ย่านความถี่แน่ ๆ  ซึ่งระบบเสียงที่นิยมใช้งานกันมากที่สุดในวงการเครื่องเสียงกลางแจ้ง ก็คงหนีไม่พ้นระบบ 2 ทาง
และ ระบบ 3 ทาง แบบที่เพื่อน ๆ สมาชิกใช้กันอยู่ตอนนี้

เราจะทำการจัดแบ่งความถี่ทั้ง 8 ย่าน เสียใหม่ ให้เหลือเพียง 2 ย่าน หรือ 3 ย่าน ตามระบบเสียงของเรากันอย่างไรดี ?  โดยคร่าว ๆ ที่รับรู้กัน
ก็คือ

- ย่านเสียงต่ำ  Low Range
- ย่านเสียงกลาง  Mid Range
- ย่านเสียงสูง  High Range

แต่คำถามคือ แล้วเราจะตัดแบ่งความถี่ในแต่ละย่านให้เหมาะสมกับตู้ลำโพงในระบบของเราได้อย่างไร ?  ถ้าตอบกันแบบกำปั้นทุบดินก็คือ ดูจาก
สเปคของดอกลำโพงที่เราใช้ในแต่ละย่านเป็นหลัก

เรามาเริ่มพิจารณาจากย่าน Low ก่อนในอันดับแรก

โดยทั่วไปดอกลำโพงที่ผลิตมาสำหรับใช้งานในตู้ลำโพงในย่านนี้ (หลาย ๆ ท่านเรียกกันว่าตู้ Sub Bass แต่ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไรก็เหมือนกัน)
ที่ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับงานกลางแจ้งคือ ดอกลำโพงขนาด 18"  ซึ่งมักจะตอบสนองความถี่ได้ดีจาก 40Hz ~ 250Hz (ตัวดอกลำโพง)
แต่สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อคือ ตู้ลำโพงที่ทำมาสำหรับย่านนี้ ซึ่งมีหลากหลายสูตร และแต่ละสูตร ก็จะตอบสนองต่อการทำงานของดอก
ลำโพงแตกต่างกัน  บางสูตรตอบสนองได้ดีในช่วงความถี่แคบ ๆ (40Hz~80Hz) แต่บางสูตรก็ตอบสนองได้ดีในช่วงความถี่ที่สูงกว่า (70Hz~120Hz)

ดังนั้นค่าเบื้องต้นสำหรับ การตัดความถี่จากครอสของตู้ลำโพงในย่านนี้ จึงอยู่ระหว่าง 35Hz ~ 120Hz โดยประมาณ  ซึ่งหากเราดูจากตาราง
ย่านความถี่ ก็คือตู้ย่านนี้จะตอบสนองต่อเสียง Drum Bass และ เสียง Bass สายในช่วงต่ำ นั่นเอง แต่จะไม่มีเสียงร้อง หรือ เสียงพูดออกมาด้วย

หลายท่านเคยถามผมว่า แล้วในเมื่อดอกลำโพงสามารถตอบสนองไปได้ถึง 250Hz ทำไมเราไม่ตัดความถี่ไปจนถึง 250Hz เลยหล่ะ?

**  นั่นสินะ เป็นคำถามที่ดีมาก **

อ้าว...ต่ออีกนิด สมาชิกกำลังติดลม 555

จากคำถามที่ว่ามาว่า ทำไมไม่ตัดความถี่ย่าน Low ไปจนถึง 250Hz หล่ะ ในเมื่อดอกลำโพงก็สามารถตอบสนองได้อยู่แล้ว

เหตุผลก็คือ ตู้ลำโพงถูกออกแบบมาให้ตอบสนองความถี่ได้ดีเฉพาะช่วงเท่านั้น  ถึงแม้ดอกลำโพงจะสามารถตอบสนองได้
ก็จริงอยู่  แต่เมื่อจับมาใส่ในตู้แต่ละสูตร จะตอบสนองได้ดีเพียงแค่ช่วงความถี่ที่ตัวตู้ถูกออกแบบมา  ดังนั้นหากเราดันทุรัง
ตัดความถี่ที่เกินกว่าช่วงที่ตู้ลำโพงถูกออกแบบ ก็จะไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด และผลเสียที่ตามมาก็คือ พาวเวอร์แอมป์
จะทำงานหนักเกินความจำเป็น เพราะต้องขยายความถี่ที่เกินมาด้วย โดยไม่ได้เกิดประโยชน์อันใดขึ้นมา

และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ  เมื่อดอกลำโพงทำงานในย่านความถี่ต่ำ จะีมีการกระพือของกรวยลำโพงค่อนข้างสูง  ดังนั้นหากเรา
ผืนตัดความถี่ไปจนถืง 250Hz  (มีบางท่านไม่ใช้ครอส อีกตะหากปล่อยสัญญาณ Full range เข้าตู้ Low เลยก็มี) เสียงพูด เสียงร้อง
ในย่านต่ำ ก็จะไปออกที่ตู้ด้วย แต่เนื่องจากกรวยดอกลำโพงมีการกระพือค่อนข้างมาก จะทำให้เสียงพูด เสียงร้องที่ออกมาเกิด
ความพร่ามัว และไม่เคลียร์  จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะตัดความถี่ให้สูงเกินจาก 120Hz ขึ้นไป สำหรับตู้ย่าน Low นั่นเองครับ


มาดูรูป กราฟความถี่ที่เราทำการตัดแบ่งจากครอส เพื่อประกอบความเข้าใจกันครับ




สิ่งที่จะคุยเสริมก่อนไปหัวข้อต่อไปคือเรื่อง รูปแบบของฟิลเตอร์ที่ใช้ (Filter Type) และค่าความลาดชัน (Slope) ในการตัดความถี่

รูปแบบของฟิลเตอร์ (Filter Type)  นั้น ที่นิยมใช้กันทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ กล่าวคือ

1. Butterworth
2. Bessel
3. Linkwitz-Riley

ซึ่งการทำงานของฟิลเตอร์ทั้ง 3 รูปแบบมีข้อดีและข้อเสีย แตกต่างกันออกไป (จะไม่ขอลงไปในรายละเอียด) แต่ฟิลเตอร์ที่มีข้อเสียน้อยที่สุด
และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในครอสแบบ อนาล็อก (ซึ่งไม่สามารถเลือกแบบของฟิลเตอร์ได้เหมือนครอสดิจิตอล) คือ
แบบที่สาม Linkwitz-Riley



ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ให้ท่านดูรูปด้านบนประกอบ เพราะครอสอนาล็อกจะใช้จุดตัดเดียวกันระหว่าง 2 ย่านความถี่ ซึ่งจะเกิดอาการ
ดังรูปด้านบน (เครดิตรูปจากน้องโต)   ในขณะที่ครอสดิจิตอล เราสามารถถ่างจุดตัดความถี่ระหว่างย่านได้โดยไม่ต้องใช้จุดตัด
เดียวกัน



ถามว่าแล้วถ้าหากใช้ครอสดิจิตอลซึ่งมีฟังก์ชั่นให้เลือกรูปแบบของฟิลเตอร์ที่จะใช้ เราจะเลือกรูปแบบไหนมาใช้งานกันดี?

ขอตอบจากประสบการณ์ที่ผ่านมาในการทดสอบทำค่าพารามิเตอร์ให้กับตู้ลำโพงของผมเอง  ฟิลเตอร์ Bessel เป็นฟิลเตอร์ที่ผมไม่ชอบ
โทนเสียงที่ได้มากที่สุด และแทบจะไม่เคยใช้เลย  ส่วน Butterworth นั้นผมจะใช้เมื่อต้องการให้ฟิลเตอร์มีความคมเป็นพิเศษ  แต่ผลเสีย
ที่ตามมาคือ Phase Shift สูง  ดังนั้นหากเป็นการทำฟิลเตอร์ที่ไม่เน้นในเรื่องความคมที่จุดตัดความถี่ผมจะใช้ Linkwitz-Riley เป็นหลัก เพราะ
ถึงจะเป็นฟิลเตอร์ที่ไม่คมเท่าแบบ Butterworth แต่ก็จะไม่เกิด Phase Shift เหมือนฟิลเตอร์แบบ Butterworth


ต่อไปเราจะมาคุยกันต่อถึงเรื่องค่าความลาดชัน (Filter Slope)

ต่าความลาดชัน (Filter Slope) คือความแรงสัญญาณ (หน่วยเป็น dB) ที่ถูกลดทอนลงจากความถี่ที่กำหนด ไปยังความถี่ที่ถัดไป หรือ ก่อนหน้า 1 Octave
อะไรคือ Octave  อธิบายง่าย ๆ เพื่อความเข้าใจง่าย ๆ  ก็คือค่าความถี่ที่เพิ่มขึ้นจากความถี่ที่กำหนด 100% หรือ ลดลง 50%  ยกตัวอย่าง
เช่นที่ความถี่ 1kHz ที่เรากำหนด  ความถี่  1 Octave ด้านสูงกว่าคือที่ 2kHz  ส่วนความถี่ 1 Octave ด้านต่ำกว่าคือ ความถี่ 500Hz

ดูรูปเพื่อประกอบความเข้าใจกันครับ




กราฟเส้นสีฟ้า เป็นกราฟที่เรากำหนดจุดตัดที่ 1kHz โดยกำหนดให้มีค่าความลาดชันเป็น -6dB / Octave
กราฟเส้นสีส้ม เป็นกราฟที่เรากำหนดจุดตัดที่ 1kHz โดยกำหนดให้มีค่าความลาดชันเป็น -12dB / Octave
กราฟเส้นสีเขียว เป็นกราฟที่เรากำหนดจุดตัดที่ 1kHz โดยกำหนดให้มีค่าความลาดชันเป็น -18dB / Octave
กราฟเส้นสีม่วง เป็นกราฟที่เรากำหนดจุดตัดที่ 1kHz โดยกำหนดให้มีค่าความลาดชันเป็น -24dB / Octave



มาคุยกันต่อครับ

การตัดแบ่งความถี่ย่านเสียงกลาง (Mid Range)

จากตอนที่ผ่าน ๆ มา คิดว่าเพื่อน ๆ น่าจะเข้าใจกันมากขึ้นถึงรูปแบบฟิลเตอร์ที่จะเลือกใช้ และ การตั้งค่าความลาดชัน
ที่จุดตัดความถี่กันไปแล้วในเบื้องต้น  ตลอดจนรู้ถึงการตัดแบ่งความถี่เบื้องต้นในย่านเสียงต่ำ (Low Range) แล้วเช่นกัน
ต่อไปเรามาดูกันว่าจะตัดแบ่งความถี่ในย่านเสียงกลาง (Mid Range) กันอย่างไร? จึงจะเหมาะสม

สำหรับท่านที่ใช้ครอสอนาล็อก จุดเริ่มของย่านความถี่เสียงกลางก็จะเป็นจุดเดียวกันกับ จุดสิ้นสุดของย่านเสียงต่ำโดย
หลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งนี้เพราะครอสอนาล็อกออกแบบมาเช่นนั้น (รวมทั้งเลือกรูปแบบของฟิลเตอร์ และค่าความลาดชันไม่ได้)

ทีนี้สำหรับท่านที่ใช้ครอสดิจิตอล คำถามคือ จะตั้งจุดตัดแบ่งความถี่เริ่มต้นของย่านเสียงกลางเป็นจุดเดียวกับจุดสิ้นสุดของ
ย่านเสียงต่ำดีหรือไม่?

คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของตู้ซับที่ท่านใช้งานว่า ณ. จุดที่สิ้นสุดย่านความถี่ที่เราทำไว้นั้น ตู้ตอบสนองเป็นเช่นไร?
ถ้าตู้ซับทำงานตอบสนองได้ราบเรียบดี (Flat) จนถึงจุดสิ้นสุดย่านความถี่  เราก็สามารถใช้จุดแบ่งความเดียวกันได้เลยเหมือน
ครอสอนาล็อก 

หากแต่ถ้าตู้ซับทำงานตอบสนองความถี่ ณ. จุดสิ้นสุดย่านความถี่ของเสียงต่ำได้ไม่ดี  เราก็สามารถกำหนดจุดแบ่งความถี่
เริ่มต้นของย่านเสียงกลางให้ทับซ้อนกับย่านเสียงต่ำได้ เพื่อช่วยเพื่มเสียงให้กับตู้ซับในช่วงความถี่นั้น ๆ  ยกตัวอย่างเช่นเรา
ตัดย่านเสียงต่ำมาจนถึงความถี่ 120Hz  แต่ตู้ซับที่เราใช้งานตอบสนองในช่วงความถี่จาก 110Hz ~ 120Hz ได้ไม่ดี  เรา
ก็สามารถกำหนดจุดแบ่งความถี่เริ่มต้นของย่านเสียงกลางให้เริ่มจาก 110Hz หรือต่ำกว่านั้น เพื่อช่วยยกเสียงในช่วงนั้น ๆ ขึ้นมา
อีกทางหนึ่งนั่นเอง

สำหรับจุดสิ้นสุดย่านความถี่เสียงกลางนั้น เราจะพิจารณาจากสเปคของดอกลำโพงที่ใช้ทำเสียงกลางเป็นหลัก  โดยทั่วไป
สำหรับดอก 15" มักจะตอบสนองความถี่ได้ดีตั้งแต่ 70Hz ไปจนกระทั่ง 2.5kHz โดยประมาณ ส่วนดอก 12" ก็จะอยู่ในช่วง
85Hz ถึง 2.5kHz โดยประมาณ ส่วนจะตอบสนองได้ราบเรียบขนาดไหน ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของดอกลำโพงที่เราเลือกใช้

ดังนั้นสำหรับจุดสิ้นสุดย่านความถี่เสียงกลาง ยังต้องคำนึงถึงดอกยูนิตแหลมที่เราเลือกใช้ร่วมด้วยว่าสามารถตอบสนองความถี่
ได้ดีเริ่มตั้งแต่ความถี่ที่เท่าไหร่  แต่จากประสบการณ์ในการทำจุดตัดความถี่สำหรับดอกลำโพงหลาย ๆ รุ่น หลาย ๆ ยี่ห้อ เพื่อ
ความคงทนของยูนิตเสียงแหลม   ผมอยากจะแนะนำว่าให้กำหนดจุดตัดความถี่สำหรับเสียงกลางไปจนถึงความถี่ 2kHz เป็น
อย่างน้อย     ถึงแม้ว่าดอกยูนิตแหลมจะสามารถตอบสนองความถี่ได้ดีต่ำกว่าความถี่ 2kHz ก็ตาม แต่ทั้งนี้มักจะไม่ค่อยทน
ถ้าหากเราตัดจุดตัดความถี่ต่ำกว่า 2kHz ลงมา   ยกเว้นดอกยูนิตยี่ห้อดี ๆ แพง ๆ (บางยูนิตราคาเหยียบหมื่นก็มี)  ซึ่งเรา ๆ ก็คง
ไม่หามาใช้กันแน่  (ดอกยูนิตแหลมดี ๆ บางรุ่นสเปคเคลมไว้ที่ความถี่เริ่มต้นตั้งแต่ 800Hz ~18kHz ก็มี)

รูปประกอบดัานล่างนี้ เป็นรูปกราฟย่านความถี่เสียงต่ำ และเสียงกลางที่ผมทำไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 15:00:17 น. โดย AJ-AUDIO »

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #66 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 14:23:41 น. »
การตัดแบ่งความถี่ย่านเสียงแหลม (High Range)

จบจากย่านเสียงกลาง เรามาคุยกันต่อที่ย่านเสียงแหลม  ต่อจากนี้ก็เริ่มไม่ยากแล้วถูกมั้ยครับ เพราะก็อาศัยหลักการเดียวกัน
กับการตัดแบ่งความถี่ย่านเสียงกลางสำหรับการกำหนดจุดเริ่มต้นของย่านความถี่  แต่คงมีคำถามว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไร
ว่าดอกลำโพง ทั้งเสียงต่ำ และ เสียงกลางตอบสนองที่จุดสิ้นสุดความถี่ได้ดีหรือไม่ดี อย่างไร?   ถ้าหากว่าเพื่อนสมาชิกมี
และใช้โปรแกรมสมาร์ไลท์เป็น  ก็เป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะทดสอบ  แต่หากว่าไม่มี หรือ มี แต่ยังใช้ไม่เป็น  ผมขอแนะนำวิธี
การง่าย ๆ ดังนี้

ให้ลองกำหนดจุดตัดความถี่เริ่มต้นของเสียงย่านถัดไปเป็นจุดเดียวกับจุดสิ้นสุดย่านความถี่ของย่านก่อนหน้า  ผมจะยกตัวอย่าง
เื่พื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เช่นในตอนที่แล้วเรากำหนดจุดสิ้นสุดความถี่ย่านกลางไว้ที่ 2kHz  ให้เรากำหนดจุดเริ่มต้นความถี่
ย่านเสียงแหลมที่ 2kHz เช่นกัน แล้วลองเปิดฟังเสียงดู  จากนั้นให้ทำการยกอีคิวก้าน 2kHz ขึ้นทีละน้อย ฟัง และ สังเกตุเสียง
ที่เปลี่ยนแปลงจากการยกก้านอีคิว  เสร็จแล้วให้ลองลดก้านอีคิว 2kHz ลงทีละน้อย ฟัง และสังเกตุเสียงที่เปลี่ยนแปลงเปรียบ
เทียบกับการที่เรายกก้านอีคิว  ว่าแบบไหนเสียงดีกว่ากัน?

ถ้าหากว่าเรายกก้านอีิคิว แล้วเสียงดีขึ้นก็แสดงว่าที่จุดสิ้นสุดความถี่ย่านเสียงกลาง ดอกเสียงกลางตอบสนองได้ไม่ดี  เราก็
สามารถกำหนดจุดแบ่งความถี่เริ่มต้นของย่านถัดไปให้เกยทับซ้อนย่านก่อนหน้าได้  ในทางกลับกันหากลดก้านอีิคิวลง แล้ว
เสียงดีขึ้น ก็แสดงว่าเสียงที่ความถี่ 2kHz มันล้น เราก็สามารถกำหนดจุดเริ่มต้นความถี่ให้เว้นช่วงถ่างออกจากจุดสิ้นสุดความ
ถี่ของย่านก่อนหน้า  ส่วนจะเป็นความถี่ตรงไหนที่เหมาะสมเราต้องลองกำหนดแล้วทดสอบด้วยการฟังเอาเองครับ จนได้เสียง
ที่เราต้องการโดยไ่ม่ต้องปรับยก หรือลดก้านอีคิว

สำหรับจุดสิ้นสุดความถี่ของย่านเสียงแหลมนั้น ก็คงอยู่ที่ 20kHz เพราะเสียงของความถี่ที่สูงกว่านั้น หูมนุษย์ตอบสนองไม่ได้
อยู่แล้ว  และในครอสอนาล็อกก็ไม่มีฟังก์ชั่นให้กำหนดจุดสิ้นสุดของย่านเสียงแหลมมาให้เราปรับ  แต่สำหรับท่านที่ใช้ครอส
ดิจิตอล  ผมอยากฝาก Tip จากการทดสอบด้วยตัวของผมเองว่าให้ท่านกำหนดจุดสิ้นสุดสำหรับเสียงแหลมไว้ที่ 18kHz ก็พอ
ครับ และ้กำหนดค่าความลาดชันให้เยอะที่สุดเท่าที่เครื่องของท่านสามารถทำได้  ทั้งนี้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการที่พาวเวอร์
แอมป์เกิดการขยายสัญญาณออสิเลท ไม่ว่าจะเกิดจากตัวพาวเวอร์แอมป์เอง หรือจากอุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบ  ตรงนี้จะช่วยลด
ความเสียหายของดอกยูนิตเสียงแหลมได้มาก  ในขณะที่คุณภาพของเสียงแหลมที่ได้อาจจะกล่าวได้ว่าไม่แตกต่างจากการที่
ท่านกำหนดไปจนถึง 20kHz หรือไม่กำหนดเลยอย่างในครอสอนาล็อกครับ



ดูรูปประกอบเป็นกราฟที่เรากำหนดจุดแบ่งความถี่ (เบี้องต้น) เสร็จแล้วทั้งสามย่าน

  


ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #67 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 15:37:33 น. »
มาถึงตรงนี้คิดว่าเพื่อน ๆ สมาชิกคงสามารถปรับตั้งค่าจุดตัดความถี่ของเสียงแต่ละย่านในเบื้องต้นได้กันแล้ว
หากมีข้อสงสัยประการใด ก็สอบถามกันเข้ามาได้ครับ

 :thank1:


m2012

  • บุคคลทั่วไป
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #68 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 15:49:32 น. »
 :happy: :happy: :happy:

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #69 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 15:57:24 น. »
สิ่งที่จะพูดคุยกันต่อไปนี้ เป็นเรื่อง การทำ Time Alignment ให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่านในระบบเสียง  ซึ่งเป็น
ข้อแตกต่างระหว่างครอสอนาล็อก กับครอสดิจิตอล  โดยที่ครอสอนาล็อกไม่สามารถทำได้ครับ

สำหรับท่านที่ใช้ครอสดิจิตอลอยู่  เท่าที่ผมเคยไปเห็นมา หลาย ๆ ท่านยังไม่เคยทำ Time Alignment ให้กับ
ตู้ลำโพงระหว่างย่านเสียงต่ำ กับเสียงกลาง - แหลม กันเลย  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก  เพราะ
หากท่านได้ทำ Time Alignment ให้กับตู้ในระบบของท่านได้ถูกต้องแล้ว จะทำให้คุณภาพของเสียงในระบบ
ของท่านดีขึ้นอย่างที่ท่านแทบจะไม่เชื่อหูกันเลยทีเดียว

อะไรคือการทำ Time Alignment ให้กับตู้ลำโพงในระบบ ?

คิดว่าหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยิน หรือ รับฟังมากันบ้างว่า เสียงต่ำ เดินทางช้ากว่า เสียงกลาง และ แหลม

ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นแบบฟันธงกันเลยทีเดียวว่า  เสียงทุกย่านเดินทางด้วยความเร็วเท่ากันครับ

อ้าว... ถ้างั้นแล้วทำไมเสียงในระบบของตู้ย่านต่าง ๆ ถึงเดินทางมาถึงหูของคนฟังไม่พร้อมกันหล่ะ  เหตุผล
หลัก ๆ มีอยู่ 3 ประการดังนี้

1. การทำงานของตัวตู้ในแต่ละแบบ จะเกิดการหน่วงเวลาของเสียงไม่เท่ากัน
2. ตำแหน่งของดอกลำโพง หรือ ตัวตู้ ซึ่งมักจะติดตั้ง หรือวางอยู่ไม่เป็นระนาบเดียวกัน
3. ค่าหน่วงเวลาในวงจรฟิลเตอร์ของครอสที่เราใช้กำหนดจุดแบ่งความถี่   โดยที่ฟิลเตอร์แต่ละย่าน จะมีค่า
หน่วงเวลาไม่เท่ากัน

ซึ่งใน 3 เหตุผลข้างต้น  สิ่งที่ทำให้เกิดการหน่วงเวลาของเสียงในแต่ละย่านมากที่สุดคือ ข้อ 3  ครับ

ทีนี้ก็มาถึงประเด็นว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตู้แต่ละย่าน จะต้องทำการปรับตั้งค่า Delay Time เท่าไหร่เพื่อ
ให้เสียงเดินทางมาถึงหูของผู้ฟังพร้อมกัน

ถ้าท่านมีโปรแกรม Smaartlive , RTA Mic. ตลอดจนสามารถใช้งานโปรแกรมเป็น ก็จะสามารถวัดเองได้ไม่
ยากเย็นแต่ประการใด  แต่หากไม่มีหรือมีแต่ใช้ไม่เป็นหล่ะ จะทำเช่นไรดี?

จากประสบการณ์ของผม (อีกแหละ) ที่ทำการวัดค่า Delay Time ของตู้ลำโพงย่านต่าง ๆ (โดยที่ตัดความถี่
ผ่านครอสมาแล้ว)  พอจะให้ไกด์ไลน์คร่าว ๆ ได้ประมาณนี้ครับ (ตู้ทุกตัวอยู่ในตำแหน่งระนาบเดียวกัน)

ตู้ย่านเสียงต่ำ (Low) จะมีค่าหน่วงเวลามากที่สุด (หลังจากผ่านการแบ่งย่านความถี่จากครอสมาแล้ว)
ตู้ย่านเสียงกลาง (Mid) จะมีค่าหน่วงเวลาน้อยกว่าตู้เสียงต่ำอยู่โดยประมาณ 5ms ~ 10ms
ตู้ย่านเสียงสูง (High) จะมีค่าหน่วงเวลาน้อยกว่าตู้เสียงกลางอยู่เพียงเล็กน้องประมาณ 0.5ms ~ 1ms

นั่นก็คือทั้ง ๆ ที่เราวางตู้ไว้ในระนาบเดียวกันแล้วก็จริง แต่เมื่อเปิดฟังเสียง เราจะได้ยินเสียงแหลมมาก่อน
ตามด้วยเสียงกลาง และ เสียงต่ำ เสมือนว่าเราวางตู้ลำโพงไว้ตามภาพ




ซึ่งจากปรากฎการณ์ข้างต้น ทำให้เสียงที่ได้จากระบบของเราก่อนทำ Time Alignment ขาดมิติ และพลัง
ในการเสริมกันของเสียงแต่ละย่าน ถ้าจะเปรียบก็เสมือนท่านนำเอาข้าวเหนียวปั้นเล็ก ๆ สามปั้นมาปาใส่
หัวเพื่อน ทีละปั้น   

แต่หากว่าเราทำ Time Alignment ให้กับระบบของเราได้ถูกต้อง ก็เปรียบเสมือนท่านเอาข้าวเหนียวทั้ง
สามปั้นมาปั้นรวมกันเป็นปั้นเดียวแล้วปาใส่หัวเพื่อน  ท่านคิดว่าแบบไหนเพื่อนจะเจ็บกว่ากันครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 18:36:31 น. โดย AJ-AUDIO »

ออฟไลน์ ชิษ บึงกาฬ

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 4
  • *
  • กระทู้: 364
  • HL#3C0606C8 (X-Men)
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #70 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 21:47:41 น. »
ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ครับ
Dx drive 260 ของผมจะได้ทำงานเต็มความสามารถของมันซะที   :thank1:

เฮียครับ ไหน ๆ ก็ พูดถึงครอสดิจิตอล แล้ว อย่าลืมฟังชั่นนี้นะครับ
Limiter ครับ ใช้งานอย่างไร ควรตั้งค่าไว้ที่เท่าไหร่
สามค่านี้ Thresh  Attack และ Release ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 22:06:57 น. โดย ชิษ บึงกาฬ »

ออฟไลน์ สุทิน

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 2
  • *
  • กระทู้: 33
  • 7EE7C896 (หนึ่ง ซาวด์โปร)
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #71 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 22:24:44 น. »
 :th2:   :thank1:

ออฟไลน์ จิตกร

  • ลงทะเบียน HL
  • ขี้โม้ระดับสุดยอด
  • *
  • กระทู้: 4575
  • รักและเคารพเพื่อนๆทุกคน
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #72 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 22:28:10 น. »

ดูรูปประกอบเป็นกราฟที่เรากำหนดจุดแบ่งความถี่ (เบี้องต้น) เสร็จแล้วทั้งสามย่าน

  


พี่สมโภชน์ครับ ขอไฟล์นี้เป็นตัวอย่างหน่อยครับผม  :thank1:

ออฟไลน์ AJ-AUDIO

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 997
  • 7EE34218 อภินันทนาการ จาก "หนุ่มเมืองลำดวน"
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #73 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 23:05:40 น. »
พี่สมโภชน์ครับ ขอไฟล์นี้เป็นตัวอย่างหน่อยครับผม  :thank1:

น้าจิตกร ก็ปรับตามรูปได้เลย ทำไมต้องใช้ไฟล์หล่ะครับ

 ;D

ออฟไลน์ ขุนหมู

  • ลงทะเบียน HL
  • ระดับ 5
  • *
  • กระทู้: 1165
  • HL#47866A34 , Tel. 080-7788747
Re: วิธีการตัดความถี่ครอสให้กับตู้ลำโพงแต่ละย่าน (เบื้องต้น)
« ตอบกลับ #74 เมื่อ: วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2013, 23:57:41 น. »
ขอแบบสองทางด้วยครับ